GMP คืออะไร? ต่างจาก HACCP ยังไง ทำไมก่อนจะผลิตสินค้าเราต้องมีสิ่งนี้ [อัพเดต 2023]
GMP คือ ระบบที่ใช้ในการรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้มีความเสถียรและควบคุมได้ตามมาตรฐานคุณภาพเสมอ ถูกออกแบบมาเพื่อลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องในการผลิตยา ที่ไม่สามารถลดหรือจำกัดความเสี่ยงนี้ได้เพียงจากการทดสอบผลิตภัณฑ์สุดท้าย
GMP คืออะไร? [อัพเดต 2023]
GMP ย่อมาจาก Good Manufacturing Practice หรือกระบวนการผลิตที่ดี เป็นระบบที่ใช้ในการรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้มีความเสถียรและควบคุมได้ตามมาตรฐานคุณภาพเสมอ ถูกออกแบบมาเพื่อลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องในการผลิตยา ที่ไม่สามารถลดหรือจำกัดความเสี่ยงนี้ได้เพียงจากการทดสอบผลิตภัณฑ์สุดท้าย
ความเสี่ยงหลัก ๆ คือ: การปนเปื้อนผลิตภัณฑ์โดยไม่คาดคิด ที่อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อสุขภาพหรือการเสียชีวิตได้ ป้ายกำกับที่ไม่ถูกต้องบนบรรจุภัณฑ์ ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยได้รับยาที่ผิด สารสำคัญที่ไม่เพียงพอหรือมากเกินไป ซึ่งอาจทำให้การรักษาไม่เป็นผลหรือมีผลข้างเคียง
ระบบ GMP ครอบคลุมทุกด้านของกระบวนการผลิต ตั้งแต่วัตถุดิบเริ่มต้น สถานที่และอุปกรณ์ ไปจนถึงการฝึกอบรมและสุขอนามัยส่วนบุคคลของพนักงาน ขั้นตอนที่เขียนละเอียดเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกระบบที่อาจส่งผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์สุดท้าย
ต้องมีเอกสารที่ครบถ้วน และพิสูจน์ได้ว่าขั้นตอนทุกขั้นตอนที่เขียนไว้ มีการปฏิบัติที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่องในทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิต และมีการปฏิบัติทุกครั้งในการผลิตผลิตภัณฑ์ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดแนวทางที่ละเอียดในการดำเนินการผลิตที่ดี หลายประเทศได้ระเบียบข้อกำหนดของตัวเองสำหรับ GMP โดยอิงตาม WHO GMP หรือ GMP จากองค์การอนามัยโลก
บางประเทศอื่นก็ได้ปรับปรุงข้อกำหนดของตนเอง เช่น ในสมาพันธระหว่างประชาชาติในอาเซียน (ASEAN) รวมถึงในสหภาพยุโรปเองก็เช่นกัน
GMP มีกี่ประเภท
ในปัจจุบัน มาตรฐาน GMP แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. GMP สุขลักษณะทั่วไป (General GMP)
เป็นหลักเกณฑ์ที่นําไปใช้ปฏิบัติสําหรับผลิตภัณฑ์โดยทั่วไป โดยมีข้อกำหนด 6 ข้อเกี่ยวกับสถานที่ตั้งและอาคารผลิต เครื่องมือเครื่องจักรและอุปกรณ์ในการผลิต การควบคุมกระบวนการผลิต สุขาภิบาล การบํารุงรักษาและการทําความสะอาด รวมทั้งบุคลากรและสุขลักษณะ
2. GMP เฉพาะผลิตภัณฑ์ (Specific GMP)
เป็นข้อกําหนดเพิ่มเติมจาก GMP ทั่วไป ซึ่งมุ่งเน้นในเรื่องความเสี่ยงและความปลอดภัยของแต่ละผลิตภัณฑ์โดยเฉพาะ โดยผลิตภัณฑ์แรกที่ผู้ประกอบการจะต้องปฏิบัติตาม GMP เฉพาะก็คือน้ำดื่ม เพื่อป้องกันปัญหาการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์ เป็นต้น โดย GMP เฉพาะผลิตภัณฑ์ของน้ำดื่มมีข้อกำหนดเพิ่มขึ้นมาจากข้อกำหนดของ GMP สุขลักษณะทั่วไป 5 ข้อด้วยกันคือแหล่งน้ํา การปรับคุณภาพน้ํา ภาชนะบรรจุ สารทําความสะอาดและฆ่าเชื้อ และการบรรจุ
ด้วยเหตุนี้ GMP จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากในโรงงานให้เช่า รวมทั้งคลังสินค้าและโกดังให้เช่าของอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น โรงงานผลิตยา เครื่องสำอาง และอาหาร เนื่องจาก GMP ถือเป็นมาตรฐานในระดับสากลและเป็นระบบที่สามารถประกันคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้ มาตรฐานนี้ได้รับการพิสูจน์จากนักวิชาการจากทั่วโลกแล้วว่าได้ผลจริงและสามารถเป็นที่ยอมรับแก่ผู้บริโภคได้ โรงงานจึงควรมี GMP เป็นเครื่องการันตีคุณภาพสินค้า
ข้อกำหนด GMP
GMP ข้อกำหนดพื้นฐานที่จำเป็นในการผลิตและควบคุม ให้ผู้ผลิตปฏิบัติตามและทำให้สามารถผลิตอาหารได้อย่างปลอดภัยมีเนื้อหาคลอบคลุม 6 ประการ ดังนี้
- สุขลักษณะของสถานที่ตั้งและอาคารผลิต
- เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ ที่ใช้ในการผลิต
- การควบคุมกระบวนการผลิต
- การสุขาภิบาล
- การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด
- บุคลากร
การนำ GMP มาประยุกต์ใช้เพื่อลดการปนเปื้อนในอาหารและยา จะมี 3 แนวทางในการลดการปนเปื้อน คือ
1. การลดการปนเปื้อนเบื้องต้น
เช่น การคัดเลือกวัตถุดิบที่ดีมาใช้ มีการล้าง/คัดแยกเพื่อเพิ่มความสะอาด การป้องกันสัตว์และแมลงไม่ให้เข้าไปภายในโรงงาน และการปฏิบัติงานที่ถูกสุขลักษณะ
2. การลดหรือยับยั้งหรือทำลายจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคและทำให้อาหารเน่าเสีย
เช่น การใช้ความร้อน การแช่เย็น เป็นต้น
3. การลดหรือป้องกันการปนเปื้อนหลังการฆ่าเชื้อหรือการผลิต
เช่น การปนเปื้อนจากภาชนะที่ใส่ สัตว์หรือแมลงที่เข้ามารบกวน การปนเปื้อนจากผู้ปฏิบัติงาน
ข้อกำหนดมาตรฐาน ของระบบ GMP Codex มีดังนี้
- วัตถุประสงค์(Objectives)
- ขอบข่าย การใช้ และ นิยามศัพท์(Scope, Use and Definitions)
- ข้อกําหนดเกี่ยวกับสินค้าวัตถุดิบก่อนการผลิต (Primary Production)
- สุขลักษณะของสภาพแวดล้อม (Environmental Hygiene)
- แหล่งวัตถุดิบหรือแหล่งอาหารต้องผ่านกรรมวิธีการผลิตอย่างถูกต้อง(Hygienic Production of Food Sources)
- กรรมวิธีผลิต การจัดการ การเก็บรักษาและขนส่ง (Handling , Storage and Transport)
- การทําความสะอาด การบํารุงรักษาและสุขอนามัยส่วนบุคคล(Cleaning, Maintenance and Personnel Hygiene at Primary Production)
- สถานที่ประกอบการผลิต –การออกแบบและสิ่งอํานวยความสะดวก (ESTABLISHMENT : DESIGN AND FACILITIES)
- สถานที่ประกอบการ สถานที่ตั้ง เครื่องมือ(Establishments, Location and Equipment)
- อาคารผลิต (Premises and Rooms) การออกแบบ การจัดวางตําแหน่ง(Design and Layout) โครงสร้างภายในและการติดตั้ง(Internal Structures and Fittings) สิ่งปลูกสร้างชั่วคราว เคลื่อนย้ายได้และเครื่องจําหน่าย(Temporary / Mobile Premises and Vending Machines
- เครื่องมือ(Equipment) เครื่องควบคุมและตรวจสอบอาหาร(Food Control and Monitoring Equipment) ภาชนะใส่ของเสีย และสารที่รับประทานไม่ได้(Containers for Waste and Inedible Substances)
- สิ่งอํานวยความสะดวก(Facilities)
- น้ําใช้น้ําดื่ม น้ําอุปโภค (Water Supply)
- การระบายและกําจัดของเสีย(Drainage and Waste Disposal)
- การทําความสะอาด (Cleaning)
- สิ่งอํานวยความสะดวกเกี่ยวกับ สุขอนามัยส่วนบุคคลและห้องน้ํา (Personnel Hygiene Facilities and Toilets)
- การควบคุมอุณหภูมิ(Temperature Control)
- คุณภาพอากาศและการถ่ายเทอากาศ (Air quality and Ventilation)
- ระบบแสงสว่าง (Lighting)
- การเก็บรักษา (Storage)
- การควบคุมกรรมวิธีการผลิต (CONTROL OF OPERATION)
- การควบคุมอันตรายของอาหาร(Control of Food Hazards)
- จุดสําคัญที่ต้องควบคุมด้านสุขอนามัย(Key Aspects of Hygiene Control System)
- การควบคุมอุณหภูมิและเวลา (Temperature and Time Control)
- ขั้นตอนพิเศษในกรรมวิธีผลิต (Specific Process Steps)
- คุณลักษณะเฉพาะทางจุลชีววิทยาหรืออื่นๆ (Microbiological and Other Specifications)
- การป้องกันการปนเปื้อนข้ามทางจุลชีววิทยา (Microbiological Cross- Contamination)
- การปนเปื้อนทางกายภาพและเคมี(Chemical and Physical Contamination)
- ข้อกําหนดการรับวัตถุดิบ (Incoming Raw Material Requirements)
- การบรรจุหีบห่อ (Packaging)
- น้ํา (Water)
- น้ําที่สัมผัสกับอาหาร(In Contact with Food)
- เป็นส่วนผสมอาหาร(As an Ingredient)
- น้ําแข็ง และไอน้ํา (Ice and Steam)
- การบริหารจัดการและควบคุมดูแล (Management and Supervision)
- เอกสารและบันทึกข้อมูล (Documentation and Records)
- การเรียกคืนสินค้า (Recall Procedures)
- สถานที่ประกอบการผลิต –การบํารุงรักษาและสุขาภิบาล(ESTABLISHMENT : MAINTENANCE AND SANITATION)
- การบํารุงรักษาและทําความสะอาด (Maintenance and Cleaning)
- ระเบียบปฏิบัติและวิธีการทําความสะอาด (Cleaning Procedures and Method)
- โปรแกรมการทําความสะอาด (Cleaning Programmes)
- ระบบควบคุมแมลงและสัตว์นําโรค (Pest Control Systems)
- การป้องกันไม่ให้เข้ามาภายในอาคาร(Preventing Access)
- การหลบซ่อน และการระบาด (Harbourage and Infestation)
- การเฝ้าระวัง และ การตรวจสอบ (Monitoring and Detection)
- การกําจัด (Eradication)
- การจัดการของเสีย (Waste Management)
- การตรวจสอบประสิทธิภาพ (Monitoring Effectiveness)
- การบํารุงรักษาและทําความสะอาด (Maintenance and Cleaning)
- สถานที่ประกอบการผลิต : สุขลักษณะส่วนบุคคล(ESTABLISHMENT : PERSONAL HYGIENE)
- สุขภาพ (Health Status)
- การเจ็บป่วย และบาดเจ็บ (Illness and Injuries)
- การรักษาความสะอาดส่วนบุคคล (Personal Cleanliness)
- อุปนิสัยส่วนบุคคล(Personal Behavior)
- ผู้เข้าเยี่ยมชม (Visitors)
- การขนส่ง (TRANSPORTATION)
- ความต้องการด้านการขนส่ง (Requirement)
- การใช้งานและการบํารุงรักษา (Use and Maintenance)
- ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และความเข้าใจของผู้บริโภค (PRODUCT INFORMATION AND CONSUMER AWARENESS)
- การระบุรุ่นผลิตภัณฑ์(Lot Indentification)
- ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ(Product Information)
- ฉลากอาหาร(Labelling)
- การให้ความรู้แก่ผู้บริโภค (Consumer Education)
- การฝึกอบรม (TRAINING)
- ความรู้และหน้าที่รับผิดชอบ (Awareness and Responsibilities)
- โปรแกรมการฝึกอบรม (Training Programmes)
- คู่มือการปฏิบัติงานและการควบคุม (Instruction and Supervision)
- การฝึกอบรมทบทวน (Refresher Training)
ความสำคัญของ GMP
ยาที่มีคุณภาพที่ดี ต้องมาจากกระบวนการผลิตที่ดี เนื่องจากการสุ่มตรวจผลิตภัณฑ์ ไม่สามารถป้องกันข้อผิดพลาดที่เกิดจากกระบวนการผลิตได้ทั้งหมด หากไม่มี GMP การผลิตไม่สามารถแน่ใจได้ว่ายาทั้งหมดที่ผลิตออกมา จะมีคุณภาพเดียวกับยาที่ได้ทดสอบในห้องแลป
ยาที่มีคุณภาพต่ำอาจมีสารพิษที่เติมเข้าไปโดยไม่ได้ตั้งใจ ยาที่มีส่วนผสมที่กล่าวอ้างเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยจะไม่ให้ผลการรักษาตามที่ตั้งใจไว้ นอกเหนือมาจากอันตรายต่อสุขภาพแล้ว แต่ยังเป็นการสูญเสียทรัพย์สินของผู้ใช้ยาเอง รวมถึงของรัฐบาลอีกด้วย
ดังนั้น หากผู้ประกอบการสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดของ GMP ได้ทุกประการ ย่อมทำให้สามารถสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องตามหลักสุขอนามัยและมีความปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภค และที่สำคัญ ผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการจะถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานสากล
การบังคับใช้ GMP ในประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมอาหารและยาของไทยได้นำเอาหลักเกณฑ์มาตรฐาน GMP มาบังคับใช้เป็นกฎหมาย โดยกำหนดไว้ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 193) พ.ศ. 2543 เรื่องวิธีการผลิต เครื่องมือ เครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษา และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง อาหารเสริม และยาจึงต้องศึกษาข้อกำหนดโดยละเอียดเพื่อการผลิตที่ได้มาตรฐาน นำมาซึ่งผลิตภัณฑ์คุณภาพที่อยู่บนพื้นฐานข้อบังคับทางกฎหมายและมีความปลอดภัยสูงสุด